วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร


9.แนวความคิดตามทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสื่อสาร



ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์  (Transactional Analysis – TA)
ผู้ริเริ่ม    Eric    Berne (1910 – 1970 )
ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบวิเคราะห์เชิงสัมพันธ์ระหว่างบุคคล   (TA)    ถือกำเนิดขึ้นราวช่วงปี ค.ศ. 1950 โดย อิริค เบอร์น    (Eric Berne)      ซึ่งได้รับการอบรมเป็นจิตแพทย์และนักจิตวิเคราะห์    ในช่วงนั้นทฤษฎีจิตวิเคราะห์เป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลมากต่อการบำบัดทางจิต    อย่างไรก็ตามการค้นพบธรรมชาติของภาวะอีโก้ (Ego State)  โดยเบอร์นทำให้  TA  เกิดขึ้นและตกผลึกเป็นทฤษฎีที่มีความเป็นอิสระ    ดังนั้นการเผยแพร่ความคิดภาวะของอีโก้ในช่วงปี  ค.ศ.   1955 – 1962  จึงจัดเป็นระยะแรกของการพัฒนา TA  การค้นพบภาวะของอีโก้มีพื้นฐานจากการทดลองทางประสาทวิทยาที่กระตุ้นเร้าสมองโดยตรงบุคคลจะมีประสบการณ์แสดงภาวะอีโก้ของความเป็นพ่อแม่  ผู้ใหญ่  และเด็ก   ซึ่งเป็นตัวกำหนดความคิด   ความรู้สึก  และพฤติกรรม  เบอร์นยืนยันว่าภาวะอีโก้ทั้ง  3  สามารถสังเกตเห็นได้ในพฤติกรรมปัจจุบัน  เขานำการค้นพบนี้ไปใช้ในการจัดทำจิตบำบัดแบบกลุ่ม  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการใช้แนวคิดจิตวิเคราะห์ในการบำบัด   TA

คุณลักษณะของ   TA  คือ  การให้ความสำคัญกับข้อตกลง (Contractual )   ที่ผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษาตกลงร่วมกันถึงเป้าหมายเฉพาะมี่สามารถวัดได้   และข้อตกลงนี้เป็นสิ่งที่ชี้นำทิศทางของกระบวนการปรึกษา  คุณลักษณะเฉพาะถัดมาคือ  การให้ความสำคัญกับการตัดสินใจและความรับผิดชอบของผู้รับการปรึกษา  TA  จะช่วยให้ผู้รับการศึกษาโยงพฤติกรรมปัจจุบันความรู้สึกกับการตัดสินใจพื้นฐานที่ได้กำหนดต่อการมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม  TA  เชื่อว่าผู้ได้รับการปรึกษาสามารถเลือกตัดสินใจใหม่ได้  โดยการแสดงความรับผิดชอบต่อการเลือกใหม่  คุณลักษณะประการที่  3  คือการช่วยให้ผู้ได้รับการปรึกษามีความคุ้นเคยกับคำศัพท์ของ  TA  โดยให้การศึกษา  คุณลักษณะต่อมาคือ  การใช้  TA  จะได้ผลมากที่สุดเมื่อนำมาใช้กับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม  พฤติกรรมของผู้รับการปรึกษา  สามารถสังเกตเห็นได้และเปลี่ยนแปลงในระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่ม   ลักษณะเฉพาะข้อสุดท้ายคือ  ผู้ให้การปรึกษาแบบ    TA  ทุกกลุ่มจะประยุกต์ใช้ภาวะของอีโก้และบทชีวิตในการช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาโดยมีพื้นฐานของสัมพันธ์ภาพระหว่างผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษาแบบ  I’M\m OK – You’re OK

 ทฤษฎีบุคลิกภาพ
พัฒนาการของบุคลิกภาพสามารถเข้าใจได้ผ่านแนวคิดที่สำคัญต่างๆ  ได้แก่  ภาวะอีโก้  การได้รับความเอาใจใส่  คำสั่ง  การตัดสินใจ  การสร้างบทชีวิต  เกม  การติดต่อสัมพันธ์  และตำแหน่งชีวิต  ซึ่งแนวคิดนี้สะท้อนอิทธิพลของฟรอยด์  อย่างไรก็ตามโครงสร้างของอิด  อีโก้  ซูเปอร์อีโก้  เกิดขึ้นในจิตไร้สำนึก  ในขณะที่โครงสร้างบุคลิกภาพตามแนวคิดของทฤษฎีนี้มีพื้นฐานอยู่กับจิตรู้สำนึกโครงสร้างหลักของบุคลิกภาพคือ  ภาวะพ่อแม่  เด็ก  และผู้ใหญ่  ภาวะทั้งสามนี้พัฒนาขึ้นอย่างสม่ำเสมอและสามารถทำนายได้

ภาวะของอีโก้
ภาวะเด็กของอีโก้ (The  Child State)
เด็กแรกเกิดมีสัญชาตญาณธรรมชาติของการแสดงพฤติกรรม  เช่น   ร้องไห้  ส่งเสียงเอิ๊กอ๊าก  ดูด  เลีย  ฯลฯพฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนถึงภาวะแรกเริ่มของอีโก้ซึ่งแฮริส  ( Harris & Harris, 1985  ) ให้เชื่อว่า  The Early Child  หรือ Somatic Child  ในช่วงใดของชีวิตหารกบุคคลมีพฤติกรรมเหมือนทารกเรียกว่าในขระนั้นบุคคลอยู่ในภาวะ  Eaely Child Ego

หน้าที่พื้นฐานของภาวะเด็กของอีโก้มี  2  ภาวะคือ
1.  ภาวะเด็กอิสระ  ( The Free Child  :  FC )  หรือเด็กธรรมชาติ  (  The Natural Child : NC )   ภาวะเด็กอิสระ   เป็นภาวะที่แสดงกิริยาไปตามธรรมชาติ  ไม่ปิดบังความต้องการแท้จริง  ขี้เล่น  เต็มไปด้วยพลังสนุกสนาน  อยากรู้อยากเห็น  หรือแสดงอารมณ์อิจฉาปึงปัง   ไม่ได้ดั่งใจออกมาตรงๆ  บุคคลที่อยู่ในภาวะนี้นานเกินไปอาจแสดงถึงการไม่สามารถควบคุมตนเอง  ไม่มีความรับผิดชอบ
2. ภาวะเด็กปรับตัว   ( The  Adapted   Child   :   FC  )  หน้าที่ของภาวะเด็กปรับตัว  คือ  แสดงกิริยาของเด็กที่รู้จักปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพ่อ  แม่  เพราะกลัวการถูกลงโทษหรือการไม่ได้รางวัล   เช่น  ความรัก  คำชมเชย  ของเล่น  ขนมที่ต้องการ  ฯลฯ  พฤติกกรมที่แสดงออกเหมือนรู้ว่ามีผู้ใหญ่จับตาดูอยู่  เช่น  ยินยอม  ขยันขันแข็ง  ขณะเดียวกันอาจแสดงพฤติกรรมตรงข้าม  เช่น  ต่อต้าน  ไม่ยอม 
                กล่าวโดยสรุป ภาวะเด็กอิสระแสดงออกถึงความรู้สึกหรือพฤติกรรมตามธรรมชาติโดยไม่คำนึงถึงปฏิกิริยารอบข้าง  ในขณะที่ภาวะเด็กปรับตัว  เป็นการแสดงออกเพื่อปรับให้เข้ากับผู้อื่น

ภาวะผู้ใหญ่ของอีโก้  (The  Adult  Ego  State)
เมื่อทารกเริ่มพัฒนาภาษาพูด  ความสามารถในการเก็บสะสมข้อมูลก็จะเพิ่มขึ้นด้วย  ระยะนี้เป็นช่วงที่เริ่มพัฒนาหน้าที่ในส่วนของภาวะผู้ใหญ่  คือการรับข้อมูลจากโลกภายนอกและจากภาวะอีโก้อื่นๆ  แล้วนำมาประมวลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ  การตัดสินใจไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป  เพราะข้อมูลที่รับมาอาจไม่ถูกต้องหรือได้มาไม่พอเพียง  ภาวะผู้ใหญ่ยังมีหน้าที่เป็นกรรมการการจัดการระหว่างข้อเรียกร้องของภาวะพ่อแม่  กับความต้องการของภาวะเด็ก  นอกจากนี้ยังเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ใช้เหตุผลตั้งคำถามในทำนองว่า  “ทำไม”   และ  “อย่างไร”  นั่นคือคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น                   

ภาวะพ่อแม่ของอีโก้  (The  Parent  Ego  State)
ภาวะนี้ หมายถึง  ความเชื่อ  อารมณ์  ความรู้สึก  และพฤติกรรมที่เด็กเลือกรับและจดจำในเรื่องของภาษา  รวมทั้งภาพลักษณ์ของพ่อแม่ที่เด็กสร้างขึ้น  ภาวะพ่อแม่มีความแตกต่างจากภาวะพ่อแม่ตอนต้น  ( Early   Parent  )  กล่าวคือภาวะพ่อแม่ครอบคลุมทัศนคติหรือพฤติกรรมที่เด็กจดจำรับเข้ามา  ไม่เจาะจงเฉพาะจากพ่อแม่  แต่รวมข้อมูลภายนอกอื่นๆด้วย  สำหรับภาวะพ่อแม่ตอนต้น  เป็นภาวะที่เด็กรับเอาความรู้สึกและพฤติกรรมของพ่อแม่โดยการตีความจากภาพที่เห็น  เสียงที่ได้ยิน  ขณะที่ยังไม่พัฒนาภาษาพูด
ภาวะพ่อแม่ตามหน้าที่หมายถึงแบ่งออกเป็น  2  ส่วนคือ
1.  พ่อแม่เอื้อเฟื้อ  ( Nurturing  Parent : NP )
NP   คือ   ส่วนที่แสดงความห่วงใย  เอาใจใส่  ปกป้อง  ลักษณะดังกล่าวอาจมีความพอดีหรือมากเกินไป
2.  พ่อแม่วิพากษ์วิจารณ์หรือพ่อแม่ควบคุม (  Critical    หรือ   Controlling Parent  : CP )
CP    คือ   ส่วนที่ข่มขู่  แสดงอำนาจ  กดขี่  ลำเอียง  ควบคุม  ส่วนนี้บอกถึงลักษณะแฝงของบุคลิกภาพที่ไม่เชื่อในความคิดของตนเอง  นอกจากนี้ยังแสดงถึงความไม่ไว้วางใจตนและผู้อื่น  และแสดงออกโดยใช้อำนาจเป็นส่อตอบสนองข้อเรียกร้องความต้องการของตน   

แนวคิด
พฤติกรรมของบุคคลจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเวลา – โดยจะเปลี่ยนแปลงใน   3   ลักษณะ    ดังนี้

 1.  พฤติกรรมแบบบิดามารดา ( Parent  Ego  State : P)
-แสดงออกในลักษณะของความรักใคร่  เอ็นดู  ปลอบประโลม   ห่วงใย  หวังดี
-  เกรี้ยวกราด  ดุด่าว่ากล่าว  ใช้อำนาจสั่งการ  ตำหนิติเตียน  เยาะเย้ย  ประชดประชัน
-  ยึดถือประเพณี  ระเบียบแบบแผน
-  เป็นพฤติกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่ตั้งแต่เด็ก
-   การสังเกตและจดจำ   เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ก็จะแสดงพฤติกรรมดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว
 2.  พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่   ( Adult  Ego  State : A
-  แสดงออกในลักษณะตรงไปตรงมา   มีเหตุผลและข้อเท็จจริง  ไม้ใช้อารมณ์หรือความคิดเห็นส่วนตัว
 -  จะพัฒนาตั้งแต่อายุ  10  เดือน  โดยเปรียบเทียบการกระทำของตนกับสิ่งที่พ่อแม่ห้ามปรามจนค้นพบว่าอรไรควรทำ  อะไรไม่ควรทำ
 3.  พฤติกรรมแบบเด็ก   ( Child   Ego   State  : C)
 -  ชุดของความรู้สึก  เจตคติ  และรูปแบบพฤติกรรมซึ่งบุคคลได้กระทำในวัยเด็ก
-  สดชื่น  ร่าเริง  มีชีวิตชีวา  กล้าหาญ  สร้างสรรค์  การพูดที่แสดงออกมามีอิสระ  เปิดเผยตรงไปตรงมา
 -  ขาดเหตุผล
 -  เอะอะ  โวยวาย  เสียงดัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น