วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

แฮรี่ สแตค ซัลลิแวน


3.แนวความคิดตามทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แฮรี่ สแตค ซัลลิแวน



ประวัติของแฮรี  สแต็ค  ซัลลิแวน  (Harry  Stack  Sullivan)  ซัลลิแวน  เกิดเมื่อวันที่  21  กุมภาพันธ์  ค.ศ.  1892  ที่มลรัฐนิวยอร์ก  ประเทศสหรัฐอเมริกา  เสียชีวิตเมื่อวันที่  14  มกราคม  ค.ศ.  1949  ที่กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส  เขาได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์  จากวิทยาลัยทางการแพทย์ของชิคาโก  ได้เข้าเป็นแพทย์ทหารในสงครามโลกครั้งที่  2  เมื่อสงครามยุติลงเขาได้รับราชการเป็นแพทย์ในสถาบันต่างๆ  ต่อมาได้ทำงานในคณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาได้ศึกษาโรคจิตเภทที่มีมากในขณะนั้น  ซัลลิแวน  เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์  นักกล่าวสุนทรพจน์ทางด้านจิตเวช  เป็นผู้นำในการฝึกฝนจิตแพทย์ในด้านบุคลิกภาพ  เขาได้เริ่มตั้งทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ปี  ค.ศ.  1929 และสำเร็จในกลางปี  ค.ศ. 1930  ตลอดชีวิตของซัลลิแวนได้มีผลงานการเขียนเพียงเล่มเดียว  คือ  ทฤษฎีบุคลิกภาพในปี  1947  เมื่อเขาเสียชีวิตเพื่อนของเขาได้นำเทปบันทึกเสียงปาฐกถามาถอดความตีพิมพ์ออกเผยแพร่ทางวารสารเช่น
1. Conception  of  Modern  Psychiatry
2. The  Psychiatric  Interview


โครงสร้างบุคลิกภาพ  (Structure  of  Personality) 
ซัลลิแวน  เห็นว่าพันธุกรรมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานความเจริญเติบโตและต้องมีความสมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้แก่  บุคคล  สภาพการณ์ต่างๆ  มนุษย์ต้องเรียนรู้การอยูร่วมกัน  ทำงานร่วมกัน  และจัดสิ่งเหล่านี้ให้เป็นระบบ  เขาได้อธิบายว่าพฤติกรรมของบุคคลที่แตกต่างกันนั้นเกิดจากการทำงานประสานกันของระบบทั้ง  3 คือ  การแปรผัน  (Dynamism)  กระบวนการของพฤติกรรม  (Patterm)  และการแปรผันพลังจิต  (Dynamism  of  Psychiatry)  ซึ่งทำให้เกิดความเครียด  (Tension)  บุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมตามประสบการณ์ที่ตนเคยรับรู้  ทำให้เกิดการผ่อนคลาย  (Euphoria)  นอกจากนี้ความเครียดของบุคคลอาจเกิดจากความต้องการ  (Need)  ซึ่งไม่ได้รับการตอบสนอง ทำให้เสียสมดุลของชีวิต  หรือความเครียดอาจเกิดจากความกังวล  (Anxiety)  ที่บุคคลไม่รู้สึกอบอุ่นหรือมั่นคงในเรื่องของความรัก
ระบบตน  (Self  System)  พ่อแม่จะเป็นผู้ปรุงแต่งบุคลิกภาพเบื้องต้นให้แก่ทารกจนกว่าทารกจะรับรู้และสามารถสร้างภาพตนเองขึ้นมาได้ว่า  “ฉันดี” (Good  Me) “ฉันเลว”  (Bad  Me)  และ  “ไม่ใช่ฉัน” (Not  Me)  โดยที่ทารกจะได้รับประสบการณ์  3 ด้าน  ดังนี้
-ประสบการณ์ที่ได้รับคำชมเชย
-ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลทีละน้อยสะสม
-ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลรุนแรงเฉียบพลัน

ซัลลิแวน  ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ของทารกที่มีต่อพ่อแม่ว่าเป็นรากฐานในการแปรผันพลัง  (Dynamism)  ในวัยต่อมา  ทารกสามารถสร้างความอบอุ่นมั่นคงแก่ตนเองได้  เมื่อพบเหตุการณ์ไม่ต้องการ  และในการสร้างภาพตนเองเกิดจากประสบการณ์ดังนี้
   1.ภาพตนเองที่ว่า  “ฉันดี”  (Good  Me  Self)  จะเกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากแม่ที่ให้ความรู้สึกรักใคร่  อ่อนโยน  เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด  เป็นห่วงเป็นใยซึ่งทารกจะเกิดความพึงพอใจ
   2. ภาพตนเองที่ว่า  “ฉันเลว”  (Bad  Me  Self)  เกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง  ไม่ดูแล  ไม่ตอบสนองความต้องการของทารก  ทำให้ทารกเกิดความไม่พอใจเกิดความวิตกกังวล
   3.  ภาพ  “ไม่ใช่ฉัน”  (Not  Me)  เกิดจากการที่ทารกได้รับประสบการณ์ในลักษณะขู่เข็ญหรือเกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรง  ทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง  และแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธว่า  “ไม่ใช่ฉัน”  เพราะเป็นสิ่งที่ทารกไม่ต้องการรับรู้อย่างยิ่ง

การพัฒนาบุคลิกภาพ
ซัลลิแวนได้แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพตามประสบการณ์เป็น 7  ขั้น (ศรีเรือน แก้วกังวาน,2546, หน้า 70-73) คือ

1. ขั้นทารก (Infancy) อายุแรกเกิด -18 เดือน วัยนี้จะมีความสุข กับการใช้ปากในการตอบสนองความต้องการอาหารของตนเองด้วยการดูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการใช้ประสาทตาสัมผัสกับมือในการดูดนิ้วตนเอง
2. ขั้นวัยเด็ก (Childhood) อายุ 18 เดือน - 5  เดือน เป็นระยะที่เริ่มหัดพูด ฝึกออกเสียงได้ชัดเจน เริ่มมีเพื่อนและต้องการให้ผู้อื่นยอมรับสถานภาพของตนเอง
3. ขั้นวัยเยาว์ (Juvenile Era) อายุระหว่าง 5-12 ปี เป็นวัยที่เข้าโรงเรียน พัฒนาการทางร่างกายเร็วมากเริ่มรู้จักสังคม มีการร่วมมือและแข่งขัน เรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง
 4. ขั้นก่อนวัยรุ่น (Pre- Adolescence) อายุ 11-13 ปี เริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศ มีการกล้าแสดงออกมากขึ้นและยังต้องการความเท่าเทียมกับผู้ใหญ่
5. ขั้นวัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) อายุระหว่าง 13- 17 ปี เป็นวัยที่มีความพอใจในเรื่องเพศ ต้องการคบเพื่อนเดียวกันและต่างเพศ ต้องการความเป็นอิสระไม่อยากพึ่งพาใคร
6. ขั้นวัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) อายุ 17-19 ปี ร่างกายเจริญเต็มที่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้และเข้าใจตนเอง เรียนรู้บทบาทในสังคมได้ดี

7. ขั้นวัยผู้ใหญ่ (Adulthood) อายุระหว่าง 20-30 ปี เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกอย่างสมบูรณ์เต็มที่สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นสร้างหลักฐาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
          กล่าวโดยสรุปจะเห็นว่า ซัลลิแวนมีความเชื่อมั่นว่า การพัฒนาบุคลิกภาพในวัยเยาว์มีความสำคัญมากและเป็นวัยที่กำหนดชี้แนวทางพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นวัยที่เริ่มรู้จักโลกอันสลับซับซ้อน และเริ่มมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งเป็นการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นมากเพียงใดก็จะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นไปตามที่สังคมยอมรับมากเพียงนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น